วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ได้เวลาจ้องมองผลประกอบการของบริษัท อีกครั้ง ตอนที่ 2 ตลาดหุ้นไทย

ขออภัยที่มาเขียนอัพบล็อกช้าเหลือเกิน วันนี้ติดธุระเยอะมากเลยครับ เฮ้ออออ เหนื่อย (บ่นๆ)

ก็ขอต่อกันที่เรื่องของผลประกอบการนะครับ เรามองไปที่สหรัฐ ณ วันที่เขียนอยู่นี้ ถามว่าดัชนีหลักทรัพย์ขึ้นมาหลายวันเพราะเรื่องมาตรการรัดเข็มขัดของกรีซ ใช่หรือไม่ ในมุมมองของ Blogger คงต้องบอกว่ามันก็เกี่ยวข้องครับ แต่น้อยเหลือเกิน ตอนนี้เขากำลังมุ่งมาที่ ผลประกอบการกันทั้งนั้นแล้วแหละ (CNBC ช่วยให้เราติดตามสถานการณ์ได้ดีจริงๆ แต่อย่าถามนะครับว่าเขาพูดอะไร? ผมแปลไม่ออกหรอก อิอิ)

ตลาดหุ้นของเมืองไทย ในรอบไตรมาส 2 เจออะไรมาบ้าง???

1. ราคาดัชนีหุ้นที่ขึ้นและลงกันรุนแรงเหลือเกิน เสียดายที่เมืองไทยเราไม่มี Volatility Index วัดออกมา เพื่อดูว่าแกว่งขนาดไหนกันเชียว แต่ถ้าใครเป็นนักลงทุนเล่นรอบผมว่า ถ้าคุณคาดการณ์จังหวะของตลาดดีๆ คุณก็ทำกำไรได้หลายรอบเลยครับ

    ดัชนี SET Index เมื่อวันแรกของไตรมาส 2 คือ 1 เมษายน ดัชนีปิดที่ 1064.35 จุด และเคยทำ High สูงสุดของไตรมาสในวันที่ 21/4 ที่ 1113.63 จุดและปิดที่ 1109.92 จุด ซึ่งเป็นการทำ High สูงสุดของ SET Index ในรอบ 10 ปีเลยทีเดียว  แต่หลังจากที่ขึ้นไปทดสอบที่ ระดับ 1100 จุดได้ไม่นาน ตลาดหุ้นไทยก็ค่อยๆ ปรับตัวลดลงและถ้าดูในกรา รายวัน ในรอบ 6 เดือนก็จะพบว่า Trend ของ SET อยู่ในระยะ Downtrend ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า ผลกระทบจากสึนามิของญี่ปุ่น มีผลเป็นอย่างมากกับตลาดหลักทรัพย์ของเรา เพราะทำให้บริษัทที่ต้องนำเข้าชิ้นส่วนจากญี่ปุ่น เช่น ธุรกิจยานยนต์ มีปัญหาในการผลิต แต่ในด้านแย่ก็ย่อมมีด้านดีนั่นคือ ธุรกิจพัฒนาที่ดินเช่น HEMRAJ, AMATA ได้รับประโยชน์เพราะนักลงทุนชาวญี่ปุ่นก็จะสามารถตัดสินใจลงทุนนอกประเทศ (FDI) ได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

    นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาเรื่องการยุบสภาของ รัฐบาล ซึ่งหลายฝ่ายก็ออกมากังวลว่าจะทำให้เสถียรภาพทางการเมือง และความมั่นคงของประเทศเราแย่ลงหรือไม่ (จริงๆ ปัญหานี้ในมุมมองของ Blogger ก็ขอบอกตรงๆ เลยว่า ต่างชาติชินแล้วครับ จะมีหรือไม่มี ก็ไม่ค่อยเกี่ยวข้องเท่าไรนักหรอก อาจจะเป็นเหตุผลในระยะสั้น หรือเป็นการหาเรื่องขายหลักทรัพย์ออกมารับรู้กำไร นั่นเอง)

2. Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติ ขออนุญาตนำรูปจากเว็บไซต์ www.Stock2Morrow.com มาเป็นตัวช่วยอธิบายครับ จริงๆแล้ว จุดที่น่าสังเกตคือ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา FundFlow ของต่างชาติ ได้ทำการขายสุทธิเป็นจำนวนเงินถึง 40,000 กว่าล้านบาท






























ที่มา: http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=22159

แต่ จุดที่น่าสังเกตคือ Blogger ได้ทำการเก็บสถิติการซื้อขายพันธบัตรของ ชาวต่างชาติ จะพบว่าเงินที่ออกจากตลาดทุนนั้น เงินส่วนหนึ่ง(ซึ่งเป็นส่วนใหญ่เลย) จะเข้ามาพักอยู่ในตลาดตราสารหนี้ครับ โดยเฉพาะในรอบอาทิตย์ที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อตราสารหนี้สุทธิแล้ว เฉียดๆ 15,000 ล้านบาท ในเดือนมิถุนายน (Blogger จะนำเสนอรูปให้เห็นในโอกาสต่อไปครับ)

นักอ่านบางท่านอาจสงสัยว่า แล้วทำไมค่าเงินบาทของเราถึงอ่อนค่าลง? ก็ต้องแจ้งว่า เพราะปัญหาเรื่องในยุโรปเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีเงินทุนบางส่วนครับที่หมุนเวียนจากประเทศไทย ไปเข้าในกลุ่ม TIP (Thailand, Indonesia, Philipines) และ จาก Taiwan, SouthKorea ไหลกลับประเทศแม่ซึ่งเป็นของเจ้าของกลุ่มนักลงทุน  ทำให้ Supply ในเงินของ กลุ่มประเทศ ASIA ลดลง และค่าเงิน EURO ก็อ่อนค่าลงเช่นกัน (แหม ปัญหาเรื่องกรีซ ทำวุ่นวายทั้งโลกจริงๆ เลยนะ) รวมถึงเรื่องการปรับลด Credit ของธนาคารในยุโรป 

ขอบอกเลยครับว่า จากที่ผมสังเกตแล้ว นักลงทุนต่างชาติ เหมือนกำลังรอเวลาครับ ที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเราอีกรอบ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ก็ได้รับการคลี่คลายไปพอสมควรแล้ว ที่จะเหลือระเบิดเวลาให้ดูอีกนิด ก็คือ ปัญหาเรื่อง Stress Test ของธนาคารพาณิชยในยุโรปและ ปัญหา Default Debt ของประเทศสหรัฐอเมริกาครับ

3. ผลประกอบการของบริษัท

ในไตรมาส 2 บางกลุ่มอุตสาหกรรมก็ได้รับผลประโยชน์ไปเต็มๆ เลยครับ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม กำไรรายไตรมาสน่าจะได้รับประโยชน์จาก สึนามิของญี่ปุ่น เพราะนักลงทุน (จริงๆ นักวิเคราะห์จะเลี่ยงใช้คำนี้ครับ พวกเขาจะใช้คำว่า ได้รับผลกระทบน้อยมากแทน เพื่อไม่ให้ฟังดูแย่ แต่ Blogger เป็น Broker บ้านนอกพูดคำตรงๆ ก็ขอใช้คำนี้แหละครับ)
ถามว่าเราได้ประโยชน์เต็มๆ เพราะอะไร ทำไม ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดฯ ไม่ได้บ้างล่ะ ก็ต้องบอกว่าเพราะประเทศเรา ที่ดินยังมีอีกเพียบครับ (เออ น่าแปลกใจนะ แล้วทำไมในตัวเมืองมันก็หนาแน่นจัง) เช่น นิคมอุตสาหกรรม อมตะ ที่ชลบุรี เป็นต้น ไตรมาสนี้เลยน่าจะได้รับผลงานที่สวยไปเลยครับ

ขออนุญาตทิ้ง Keyword ไว้หน่อยนะครับ สำหรับใครที่จะเอาบทความในบล็อกผมไปนึกต่อ
Flow ของต่างชาติ (Bond, Equity, Currency), ปัญหากรีซ, การเลือกตั้ง, กลุ่มอุตสาหกรรมที่โดดเด่น :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น