วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Euro Crisis !!! and American Exist ???

              ไม่ได้เขียน Blog มาเกือบครึ่งปี แล้วครับ อยู่ดีๆ ก็อยากเขียนขึ้นมา นึกขึ้นมาได้ว่าช่วงนี้ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ติดตามสถานการณ์ยุโรป ทั้งจากมุมมองของนักวิเคราะห์ในประเทศ และต่างประเทศ มาพอสมควร


วันนี้สิ่งที่อยากอัพเดทก็คือ วิกฤติยุโรป ข้อมูลอัพเดทล่าสุด และความเป็นไปได้ของการเกิด นโยบายผ่อนคลายทางการเงินรอบที่ 3 [QE III] (แบบกระชับ)

Ben Bernanke and Mario Draghi
เป็นที่รู้กันว่า ว่าสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้น - ลง ช่วงนี้ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทซะทั้งหมด
โดยมีเรื่อง การออกมาให้ความคิดเห็นของผู้มีอำนาจในการแก้ปัญหา ที่ออกมาให้สัญญากับนักลงทุนว่าจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้สภาพเศรษฐกิจไม่เลวร้ายไปความนี้ (โดยเฉพาะ 2 คนในภาพครับ)

แต่หลังจากที่ตลาดให้ความหวังกับการแก้ปัญหาของ FED และ ECB จากการประชุมในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็พบว่าไม่มีมาตรการใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน นักลงทุนก็มีการเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และสินค้าโภคภัณฑ์ออกมาพอสมควร

หลังจากนี้ ผมก็คาดการณ์ว่าตลาดน่าจะเริ่มเพิ่มน้ำหนักกับตัวเลขเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

วันนี้ก็มีตัวเลข PMI Service ของ ยุโรปออกมา นำโดย เยอรมัน ที่ตัวเลขออกมาดีเกินกว่า 50 จุดซึ่งหมายความว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะขยายตัวได้
เช่นเดียวกับ ฝรั่งเศสก็ออกมาดี แต่ที่โดดเด่นสุดก็คือ สวีเดนที่ สามารถขยายตัวได้สูงสุด ในรอบเกือบ 1 ปี ขณะเดียวกัน สเปนกับอิตาลี ตัวเลข PMI ก็ยังย่ำแย่ต่อไปอีก

ประกอบกับก่อนหน้านี้ ตัวเลขการว่างงาน ของยุโรปก็แย่ที่สุดตั้งแต่มีการร่วมกลุ่มยูโรโซน โดยอยู่ที่ 11.2%  ด้านนักวิเคราะห์ก็คาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานมีโอกาสแตะถึง 12% ได้

น่าจะเป็นปัญหาที่เรื้อรังต่อไป เมื่อ การว่างงานสูง การเก็บภาษีของรัฐบาลก็จะทำได้น้อยลง เมื่อเก็บภาษีได้น้อยลง (รายได้หาย) นักลงทุนก็ขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเรื่องการชดใช้หนี้สิน ทำให้พันธบัตรรัฐบาลระยะยาวทั้ง สเปนและอิตาลี ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาจนอยู่ในระดับวิกฤติ นักลงทุนก็ยังคงคลุมเครือ และรอการแก้ปัญหาของ ผู้มีอำนาจ เช่นเดิม

แม้วันนี้ตลาดหุ้นยุโรปจะปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมาก ไล่เรียงตั้งแต่ฝรั่งเศส ที่บวกขึ้นมาได้เกิน 4% เยอรมัน ก็เกือบ 4% การที่ตลาดหุ้นปรับตัวได้มากในวันนี้ สาเหตุหนึ่งก็คือการคาดการณ์จากตัวเลขการจ้างงาน และอัตราการว่างงานของฝั่ง สหรัฐ ที่ออกมาดี
(การจ้างงานเพิ่มขึ้น 1 แสนกว่าตำแหน่ง แต่อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นจาก 8.2% เป็น 8.3%)

ทำให้ตลาดให้ความหวังว่าจะเกิด QE 3 ได้ในเดือนกันยายน (คาดหวังอีกแล้วครับ)

ตลาดคาดหวัง 1 ครั้ง ก็ปรับตัวขึ้นมาได้ 1 ครั้ง พอความจริงออกมาก็มีการเทขาย 1 ครั้ง จนกว่าจะออกมาอย่างแท้จริง

ถ้าถามผมว่าจะมี QE 3 มั้ย และถ้ามีจะเกิดกับส่วนใด??


ถ้ามีโอกาสเกิด QE3 ได้  (จากอัตราการว่างงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นซะอย่างนั้น) และถ้ามีผมมองว่า FED น่าจะอัดฉีดเข้าส่วนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ครับ เพราะอสังหาฯ เป็นส่วนที่อ่อนแอที่สุดเท่าที่ผมมองเห็นตอนนี้ครับ อัดฉีดเข้าธนาคารๆ ก็ไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดโภคภัณฑ์อีก ก็เหมือน FED เอาเงินไปตำน้ำพริกละลายแม่น้ำครับ  Bernanke เกาไม่ถูกที่คันซักทีครับ

ถ้าไม่เกิด QE3 ในปีนี้ ก็มองว่าน่าจะมีปัจจัยประกอบ คือ ตอนนี้สหรัฐถามว่าเศรษฐกิจขยายตัวได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าขยายตัวได้ครับ เพียงแต่เป็นไปอย่างช้าๆ และยิ่งช้าต่อเนื่องอีก เมื่อปัญหาวิกฤติยุโรป ลุกลามมายังอเมริกา ในฐานะ คู่ค้าคนสำคัญ แน่นอนครับว่า FED ก็รู้ว่าจะเป็นเช่นนั้นจึงได้แก้ไขก่อนแล้วอย่างหนึ่งคือ ขยายเวลามาตรการ Operation Twist ออกไปจนถึงสิ้นปี ผมมองว่าถึงสิ้นปีส่วนหนึ่งก็เพราะจะได้ผ่านพ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายน ถ้าถึงตอนนั้นก็จะได้ทราบว่าใครเป็นผู้นำ (โอบามา จาก Democrat ขึ้นชื่อเรื่อง ประชานิยมมากกว่า สำหรับสไตล์ของพรรคนี้ รอมนีย์ จาก Republican ขึ้นชื่อเรื่อง ทุนนิยม มากกว่าครับ สำหรับ พรรคตราช้าง)
ครับ

มุมมองเรื่องนี้อาจจะไม่ได้มีในเนื้อหาในถ้อยแถลงของ Bernanke เลย แต่ถ้าให้ผมอ่านใจ ผมก็มองว่า Bernanke ก็อยากเห็นความมีเสถียรภาพ และนโยบายของประธานาธิบดี ที่จะขึ้นมาก่อนครับว่า มีทิศทางไปไหนทางใด เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมได้อย่างทันท่วงที

ส่วนครั้งหน้าจะอัพเดทมุมมองการแก้ปัญหาของยุโรป เท่าที่ผมได้ติดตามนักวิเคราะห์ต่างๆนะครับ