วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Euro Crisis !!! and American Exist ???

              ไม่ได้เขียน Blog มาเกือบครึ่งปี แล้วครับ อยู่ดีๆ ก็อยากเขียนขึ้นมา นึกขึ้นมาได้ว่าช่วงนี้ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ติดตามสถานการณ์ยุโรป ทั้งจากมุมมองของนักวิเคราะห์ในประเทศ และต่างประเทศ มาพอสมควร


วันนี้สิ่งที่อยากอัพเดทก็คือ วิกฤติยุโรป ข้อมูลอัพเดทล่าสุด และความเป็นไปได้ของการเกิด นโยบายผ่อนคลายทางการเงินรอบที่ 3 [QE III] (แบบกระชับ)

Ben Bernanke and Mario Draghi
เป็นที่รู้กันว่า ว่าสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้น - ลง ช่วงนี้ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทซะทั้งหมด
โดยมีเรื่อง การออกมาให้ความคิดเห็นของผู้มีอำนาจในการแก้ปัญหา ที่ออกมาให้สัญญากับนักลงทุนว่าจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้สภาพเศรษฐกิจไม่เลวร้ายไปความนี้ (โดยเฉพาะ 2 คนในภาพครับ)

แต่หลังจากที่ตลาดให้ความหวังกับการแก้ปัญหาของ FED และ ECB จากการประชุมในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็พบว่าไม่มีมาตรการใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน นักลงทุนก็มีการเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และสินค้าโภคภัณฑ์ออกมาพอสมควร

หลังจากนี้ ผมก็คาดการณ์ว่าตลาดน่าจะเริ่มเพิ่มน้ำหนักกับตัวเลขเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

วันนี้ก็มีตัวเลข PMI Service ของ ยุโรปออกมา นำโดย เยอรมัน ที่ตัวเลขออกมาดีเกินกว่า 50 จุดซึ่งหมายความว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะขยายตัวได้
เช่นเดียวกับ ฝรั่งเศสก็ออกมาดี แต่ที่โดดเด่นสุดก็คือ สวีเดนที่ สามารถขยายตัวได้สูงสุด ในรอบเกือบ 1 ปี ขณะเดียวกัน สเปนกับอิตาลี ตัวเลข PMI ก็ยังย่ำแย่ต่อไปอีก

ประกอบกับก่อนหน้านี้ ตัวเลขการว่างงาน ของยุโรปก็แย่ที่สุดตั้งแต่มีการร่วมกลุ่มยูโรโซน โดยอยู่ที่ 11.2%  ด้านนักวิเคราะห์ก็คาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานมีโอกาสแตะถึง 12% ได้

น่าจะเป็นปัญหาที่เรื้อรังต่อไป เมื่อ การว่างงานสูง การเก็บภาษีของรัฐบาลก็จะทำได้น้อยลง เมื่อเก็บภาษีได้น้อยลง (รายได้หาย) นักลงทุนก็ขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเรื่องการชดใช้หนี้สิน ทำให้พันธบัตรรัฐบาลระยะยาวทั้ง สเปนและอิตาลี ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาจนอยู่ในระดับวิกฤติ นักลงทุนก็ยังคงคลุมเครือ และรอการแก้ปัญหาของ ผู้มีอำนาจ เช่นเดิม

แม้วันนี้ตลาดหุ้นยุโรปจะปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมาก ไล่เรียงตั้งแต่ฝรั่งเศส ที่บวกขึ้นมาได้เกิน 4% เยอรมัน ก็เกือบ 4% การที่ตลาดหุ้นปรับตัวได้มากในวันนี้ สาเหตุหนึ่งก็คือการคาดการณ์จากตัวเลขการจ้างงาน และอัตราการว่างงานของฝั่ง สหรัฐ ที่ออกมาดี
(การจ้างงานเพิ่มขึ้น 1 แสนกว่าตำแหน่ง แต่อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นจาก 8.2% เป็น 8.3%)

ทำให้ตลาดให้ความหวังว่าจะเกิด QE 3 ได้ในเดือนกันยายน (คาดหวังอีกแล้วครับ)

ตลาดคาดหวัง 1 ครั้ง ก็ปรับตัวขึ้นมาได้ 1 ครั้ง พอความจริงออกมาก็มีการเทขาย 1 ครั้ง จนกว่าจะออกมาอย่างแท้จริง

ถ้าถามผมว่าจะมี QE 3 มั้ย และถ้ามีจะเกิดกับส่วนใด??


ถ้ามีโอกาสเกิด QE3 ได้  (จากอัตราการว่างงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นซะอย่างนั้น) และถ้ามีผมมองว่า FED น่าจะอัดฉีดเข้าส่วนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ครับ เพราะอสังหาฯ เป็นส่วนที่อ่อนแอที่สุดเท่าที่ผมมองเห็นตอนนี้ครับ อัดฉีดเข้าธนาคารๆ ก็ไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดโภคภัณฑ์อีก ก็เหมือน FED เอาเงินไปตำน้ำพริกละลายแม่น้ำครับ  Bernanke เกาไม่ถูกที่คันซักทีครับ

ถ้าไม่เกิด QE3 ในปีนี้ ก็มองว่าน่าจะมีปัจจัยประกอบ คือ ตอนนี้สหรัฐถามว่าเศรษฐกิจขยายตัวได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าขยายตัวได้ครับ เพียงแต่เป็นไปอย่างช้าๆ และยิ่งช้าต่อเนื่องอีก เมื่อปัญหาวิกฤติยุโรป ลุกลามมายังอเมริกา ในฐานะ คู่ค้าคนสำคัญ แน่นอนครับว่า FED ก็รู้ว่าจะเป็นเช่นนั้นจึงได้แก้ไขก่อนแล้วอย่างหนึ่งคือ ขยายเวลามาตรการ Operation Twist ออกไปจนถึงสิ้นปี ผมมองว่าถึงสิ้นปีส่วนหนึ่งก็เพราะจะได้ผ่านพ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายน ถ้าถึงตอนนั้นก็จะได้ทราบว่าใครเป็นผู้นำ (โอบามา จาก Democrat ขึ้นชื่อเรื่อง ประชานิยมมากกว่า สำหรับสไตล์ของพรรคนี้ รอมนีย์ จาก Republican ขึ้นชื่อเรื่อง ทุนนิยม มากกว่าครับ สำหรับ พรรคตราช้าง)
ครับ

มุมมองเรื่องนี้อาจจะไม่ได้มีในเนื้อหาในถ้อยแถลงของ Bernanke เลย แต่ถ้าให้ผมอ่านใจ ผมก็มองว่า Bernanke ก็อยากเห็นความมีเสถียรภาพ และนโยบายของประธานาธิบดี ที่จะขึ้นมาก่อนครับว่า มีทิศทางไปไหนทางใด เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมได้อย่างทันท่วงที

ส่วนครั้งหน้าจะอัพเดทมุมมองการแก้ปัญหาของยุโรป เท่าที่ผมได้ติดตามนักวิเคราะห์ต่างๆนะครับ
















วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลยุทธ์ดันโด (Dhando Investor) [Low Risk – Hi Return]

เขียนบทความ ณ วันหยุดของเดือนแห่งความรักซะหน่อย ใครมีคู่ก็ขอให้สุขสันต์กับเดือนพิเศษ และเป็นปีพิเศษเสียด้วย เพราะปีนี้เป็นปีที่มี 366 วันหรือปีอธิกสุรทินนั่นเองครับ ใครเกิดวันที่ 29 กุมภาฯ ก็ได้ฉลองตรงวันกับเขา บ้างแล้วนะครับ :D  ส่วนใครที่ยังไม่มีคู่ ก็ขอให้มีเสียทีนะครับ ถ้าต้องการ :) :)


เข้าเรื่องการลงทุนบ้าง หลายคนอาจจะอยากเป็นนักลงทุนแบบ VI (Value Investor) แต่ไม่รู้จะทำยังไง?
อ่านหนังสือของลุงเบนจามิน เกรแฮม (บิดาแห่ง VI) ก็ไม่ค่อยเข้าใจ เพราะมันเป็นแบบแนวตะวันตก จริงๆต้องบอกว่าเอเชียก็มีคนคิดการลงทุนแนวนี้เหมือนกันครับ เพียงแต่จะได้ยินกันในชื่อ กลยุทธ์ดันโด (ลักษณะก็คือ จะลงทุนในธุรกิจที่ความเสี่ยงแทบไม่มี แต่ผลตอบแทนสูง หรือที่เรียกกันว่า การทำ Arbitrage นั่นเอง)
กลยุทธ์ดันโดย่อยง่ายๆให้อ่านกันได้ก็จะมีด้วยกัน 9 ข้อ ดังต่อไปนี้


1. ซื้อธุรกิจที่มีอยู่แล้--> ถ้าในยุคสมัยนี้ก็คือตลาดหุ้นนั่นเอง

2. ซื้อธุรกิจที่เรียบง่าย -->  ธุรกิจที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน คาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตได้อย่างใกล้เคียง

3. ซื้อธุรกิจที่กำลังมีปัญหา  --> แหล่งข้อมูลที่จะแจ้งเรื่องนี้ได้ว่าธุรกิจไหนกำลังมีปัญหาก็คือ “หนังสือพิมพ์” แต่ ณ โลกยุคปัจจุบันนี้ ตาม Website ที่รวมข่าวต่างๆ ก็มีความน่าสนใจมากขึ้น (แต่ต้องกรองที่มาให้ดีด้วยเช่นกัน)

4. ซื้อธุรกิจที่มีความได้เปรียบ  --> “ลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอันยั่งยืน”  --> โดยต้องดูที่ “งบการเงิน”
                 *  ความได้เปรียบเชิงแข่งขันแบบถาวรไม่มีจริง * เพราะจากการสำรวจวงจรชีวิตบริษัทนั่นจะอยู่ได้เพียงแค่ 40 – 50 ปี ที่มา: Fortune 500
            ด้วยเหตุนี้การคำนวณกระแสเงินสดคิดลดจึงไม่ควรที่จะนานเกิน 10 ปีนั่นเอง

5. เดิมพันหนักๆ เมื่อมีแต้มต่อ  -->  บางครั้งราคาหุ้นที่เราเจออาจะจะไม่ถึงครึ่งของ Fair Price ดังนั้น ถ้าคำนวณมูลค่าแท้จริงสูงกว่ามูลค่าตลาดมากๆ ก็มีโอกาสที่จะทำกำไรได้แน่นอน
                * การลงทุนบางคราวก็คล้ายการเดิมพัน มันเป็นเรื่องของความน่าจะเป็น มองหาโอกาสลงทุนที่มีราคาผิดพลาด และลงทุนหนักๆ เมื่อมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง จะเป็นบัตรผ่านไปสู่ความมั่งคั่งแน่นอน*

6. หาโอกาสทำ Arbitrage (หุ้นบางตัวอาจจะมีการซื้อขายมากกว่า 1 ที่ ถ้าเราสามารถทำการซื้อขาย ณ ต่างประเทศได้ เราก็มีโอกาสที่จะทำกำไรได้เช่นกัน :) :) )

7. ซื้อราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง กฎง่ายๆ ที่ทำได้ยากเสมอ ความยากของมันอยู่ที่คุณจะหามูลค่าแท้จริงได้อย่างไร ฉะนั้นทางที่ดีแล้วพยายามหาหุ้นที่ราคาตลาด ถูกกว่ามูลค่าแท้จริงที่ประเมินขึ้นมา ให้ถูกกว่ามากๆๆๆ 

8. หาธุรกิจเสี่ยงต่ำ แต่ความไม่แน่นอนสูง ข้อนี้ต้องเท้าความก่อนว่าในตลาดหุ้นนั้นมีเรื่องธุรกิจและความไม่แน่นอนอยู่ 4 แบบ กล่าวคือ
                1. ความเสี่ยงสูง ความไม่แน่นอนต่ำ (ยกตัวอย่างก็เช่นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับภาครัฐ ธุรกิจมีความเสี่ยงสูง แต่การประมูลงานก็มีโอกาสได้งานที่ง่ายกว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างเจ้าใหม่ๆ)
                2. ความเสี่ยงสูง ความไม่แน่นอนสูง (สุดยอดของความไม่น่าลงทุนเลย คงไม่มีใครสนใจธุรกิจแบบนี้นอกจากจะเป็นนักเก็งกำไร หรือนักพนันนั่นเอง)
                3. ความเสี่ยงต่ำ ความไม่แน่นอนต่ำ (ธุรกิจนี้ถ้าไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงจริงๆ เช่น Subprime ที่ผ่านมา เชื่อได้เลยว่าคนสนใจน้อยมาก เหตุเพราะถ้าวิเคราะห์ในเชิงบัญชีแล้ว ธุรกิจประเภทนี้จะมีการเทรดในค่า P/E ที่สูงมาก แปลว่าการ Trade แพงเกินไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในรอบ 4-5 ปีนี้ก็คือกลุ่มพาณิชย์เช่น CPALL นั่นเอง )
            4. ความเสี่ยงต่ำ ความไม่แน่นอนสูง ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า ธุรกิจประเภทนี้ด้วยโครงสร้างของบริษัทแล้วความเสี่ยงถือว่าต่ำมาก ธุรกิจมีความมั่นคงสูง แต่ด้วยสภาพแวดล้อม หรือด้วยเรื่อง Timing ก็แล้วแต่ทำให้มีช่วงเวลาที่ราคาหุ้น ขาดการเหลียวแล เผชิญแรงเทขายออกมาตามตลาดที่ร่วงลง ตัวอย่างเช่น SCC PTT PTTGC(ก่อนควบรวมกิจการ) ใครจะเชื่อครับว่าจะสามารถซื้อ PTT SCC ที่ราคาต่ำกว่า 300 บาทได้ในช่วงที่ S&P ออกมา Downgrade US Bond แปลกแต่จริงครับ และสุดท้ายมันก็เด้งกลับขึ้นมาได้ แล้วถ้าจะไปได้อีกไกลเสียด้วย

9. เลียนแบบดีกว่าสร้างใหม่  ถ้าเทียบใกล้ๆตัวก็เรียกว่าทำตาม Model ที่น่าสนใจละกันครับ ถามว่าธุรกิจนี้ในโลกมีหรือ เลียนแบบเขาแล้วไม่โดนฟ้องเนี่ย ??
มีครับ นั่นก็คือธุรกิจ Franchise นั่นเอง ถ้าFranchise ไทยแท้ก็ขอยกตัวอย่างเช่น ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ราดหน้าเอ็มไพร์ เจ้าต่างๆ ครับที่ดูน่าสนใจทีเดียว ถ้า Import เข้ามาก็เห็นจะเป็น Krispy Kreme ช่วงกระแสโดนัทแรงๆ นี่ท้ายแถวน่าจะยาวถึงวัดปทุมวนารามได้เลยนะครับ (ขอเว่อร์นิดนึง)


สุดท้ายต้องขอบคุณบทความจากหนังสือพิมพ์ Post today ประจำวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่เป็นแหล่งที่มาสำหรับย่อหนังสือเล่มใหญ่โตมาให้พวกเราสามารถตั้งใจอ่านหนังสือเล่มนี้กันได้เพิ่มเติมครับ

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

EUROPE FOCUS 01-02-2012

1. Italian, Spanish Bonds Rise on EU Fiscal Deal; Portuguese Securities Jump
พันธบัตร 10 ปีของอิตาลีอัตราผลตอบแทนลดลง 11 bps อยู่ที่ 5.99% ด้านพันธบัตรสเปน 10 ปีก็ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 5.01% ด้านผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของเยอรมันก็ยังคงทำสถิติต่ำสุดเป็นสัปดาห์ที่ 2 สาเหตุก็มาจากนายกฯ ลูคัส ปาปาเดมอส นายกกรีซออกมาให้คำมั่นว่าจะพูดคุยกับเจ้าหนี้พันธบัตรให้แล้วเสร็จให้ได้
                ด้านพันธบัตรโปรตุเกสที่ปรับตัวขึ้นมาแรงๆนั้น ก็ปรับตัวลดลง 148 bps อยู่ที่ 15.92%  โดยเมื่อวานนี้ความผันผวนของพันธบัตรโปรตุเกสนับว่าสูงที่สุด ตามมาด้วยฝรั่งเศสและฟินแลนด์
ผลตอบแทนพันธบัตรเบลเยียม 2 ปีปรับตัวลดลง ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2010อยู่ที่ 1.51%

2. Swiss Stocks Advance; UBS, Credit Suisse Lead the Gains

ดัชนีหุ้นสวิสในเดือนมกราคมปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 5 ปี ด้านผู้จัดการกองทุนออกมากล่าวว่า “การที่ผู้นำทางการเมืองเห็นชอบร่วมกันในการควบคุมงบประมาณเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็คิดว่าไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้มาก” “โดยที่คิดว่าการที่ตลาดหุ้นสามารถรีบาวนด์ได้นั้นคิดว่าเป็นแค่ระยะสั้นเท่านั้น”

3. Portugal as Greece Pressures ECB to Halt Contagion Prompting Nascent Bulls
                ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการลุกลามของหนี้ยุโรปนั้นยังมีอยู่ต่อเนื่องเห็นได้จากประเทศโปรตุเกสเริ่มมีการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือรอบใหม่กับทาง ECB ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าผลกระทบจะลุกลามไปทั่วภูมิภาคและเกี่ยวข้องกับผลกำไรของตลาดหุ้นในภูมิภาค
                หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ “หุ้นขนาดใหญ่อาจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปได้ 20 – 30% นับตั้งแต่เริ่มต้นสภาวะวิกฤติขึ้น พร้อมยังย้ำว่า ไม่มีเหตุผลที่จะมาสนับสนุนเพียงพอว่า ECB จะยังคงรักษาความต่อเนื่องของอัตราเติบโตต่อไปได้”

 

 

 

4. Euro Zone Jobless Hits Highest Level Since Birth of Euro
          17 ประเทศในกลุ่มยูโรมีปัญหาเรื่องการว่างงานพุ่งสูงขึ้นมาอยู่ที่ 10.4% ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นอัตราการว่างงานที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1998 (EU เริ่มรวมตัวกันในปี 1999)
                ประเทศเยอรมันมีอัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ 6.7% ในเดือนมกราคม ซึ่งนับเป็นสถิติการว่างงานที่ต่ำที่สุดของเยอรมัน
                ประเทศออสเตรียมีอัตราการว่างงานน้อยที่สุดอยู่ที่ 4.1% ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ที่ 4.9% ด้านประเทศที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดคือสเปนที่ทำสถิติใหม่มาอยู่ที่ 22.9% กรีซว่างงานที่ 19.2% ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม และโปรตุเกสอยู่ที่ 13.6% ซึ่งเป็นข้อมูลในเดือนธันวาคม

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ข่าวจากฝั่งยุโรป (ประชุมดาวอส)

ข่าวจาก งาน World Economic Forum เป็นไฮไลท์ที่น่าสนใจที่สุดของสัปดาห์ที่ผ่านมานี้

1. ผู้นำของ IMF ออกมากล่าวว่า โลกต้องผลักดันให้เกิดกำแพงในการแก้ปัญหาเรื่องยูโรโซน
                นาง คริสติน ลาการ์ด ได้กล่าวในวันเสาร์ว่าต้องรีบสร้างสถานการเงินที่เข้มแข็งเพื่อกันปัญหาจากเรื่องของยูโรโซน โดยย้ำว่าถ้าไม่เตรียมการมากจริงๆ จะแก้ปัญหาได้ไม่เพียงพอ ซึ่งผู้นำของ IMF ยังได้สนับสนุนรมว. Finance ของสหภาพอาณาจักรว่า IMF จะเร่งสนับสนุนการแก้ปัญหายูโรโซนซึ่งสิ่งแรกที่จะทำคือผลักดันบทบาทของผู้นำของยุโรปให้มากขึ้น โดยผู้นำบางท่านได้ตั้งขอสงสัยเกี่ยวกับความมั่นคงของค่าเงินยูโร โดยประเทศกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปต้องการเห็นสมาชิกคนอื่นจ่ายเงินสมทบทุนให้ IMF (Stump Up = จ่ายเงินอย่างไม่เต็มใจ)
คำพูดที่น่าสนใจคือ “If it is big enough, it will not get used” Christine Lagarde MD IMF


2. In Davos, Europe Is Pressed for Debt Crisis Solution
                ผู้นำโลกกดดันให้ยุโรปทำการแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมาโดยเฉพาะการใช้เงินช่วยเหลือแม้จะรู้ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยาก โดยเตือนว่าปัญหายูโรโซจะยังคงเป็นปัญหาที่คุกคามเศรษฐกิจโลกไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีความคิดเห็นจากนาย Motohisa Furukawa ผู้แทนฝั่งญี่ปุ่นว่า ยุโรปต้องแสดงเจตจำนงในการแก้ปัญหาให้มากกว่านี้ ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ประเทศที่พัฒนาแล้วก็คงไม่ต้องการจ่ายเงินสมทบทุนให้กับ IMF  ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า Firewall ที่ผู้ถึงนี้ก็น่าจะหายถึงการตั้ง ESM (European Stability Mechanism) ซึ่งจะมีเงินให้ประเทศต่างๆได้กู้ยืมถึง 500 billion euros ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคมนี้ แทนกองทุนชั่วคราว โดยทางผู้นำของฟากยุโรปได้ออกมาพิจารณาที่จะเพิ่มเงินของกองทุนที่จะช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ปัญหายุโรปคุกคามออกไป ซึ่งผู้นำความคิดนี้คือประเทศเยอรมัน
ในระยะสั้นนั้น ผู้นำชาติต่างๆสามารถวางใจได้ว่าจะมีเงินช่วยเหลือฉุกเฉินเพราะ ECB อัดฉีดเงินให้กับธนาคารพาณิชย์นั่นเอง ผู้นำกลุ่มยุโรปจับตาไปที่การเจรจาหาทางออกของปัญหาการล้มละลายของกรีซและดูเหมือนจะละเลยความอดทนของผู้จ่ายภาษีในการเพิ่มขอบเขตของการแก้ปัญหานี้

3. Sanctions to hit EU buyback firms: Iran oil chief
            ตัวแทนของบริษัทน้ำมันของอิหร่านออกมากล่าวในวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า “บริษัทต่างๆในยุโรปที่เป็นเจ้าของสัมปทานในประเทศอิหร่านอาจจะเสียสิทธ์ในการส่งออกน้ำมันไปยังกลุ่มสหภาพยุโรปในอาทิตย์หน้า” เนื่องจากรัฐสภาของอิหร่านกำลังตัดสินใจในวันอาทิตย์ว่าจะอุปทานการส่งออกน้ำมันไปยังกลุ่มสหภาพยุโรปในเร็ววันนี้เพื่อเป็นการตอบโต้ท่าทีของสมาชิกสหภาพยุโรปที่จะหยุดนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านในวันที่ 1 กรกฎาคมที่จะถึงนี้

4. Greece, creditors on verge of clinching debt deal
                ตัวแทนของกรีซและเจ้าหนี้ภาคเอกชนออกมากล่าวเมื่อวันเสาร์ว่าการตกลงกันใกล้จะเสร็จสิ้นแล้วโดยยังเหลือเรื่องที่ต้องตกลงกันเล็กน้อยและคาดว่าจะเสร็จสิ้นได้ในสัปดาห์หน้า โดยเนื้อหาสำคัญคือการเปิดเผยแผนการช่วยเหลือและหลีกเลี่ยงปัญหาการล้มละลายที่ควบคุมไม่ได้นั่นเอง โดยนาย Jean-Claude Juncker รมว.การเงินของยุโรปออกมากล่าวย้ำความมั่นใจว่า ทั้งสองฝั่งจะเสร็จสิ้นแผนการได้ทันเวลาที่ตกลงกันไว้ โดยทางฝั่งเจ้าหนี้ออกมาคาดการณ์ว่า ผู้ถือพันธบัตรจะยอมรับของตกลงของนาย Juncker ที่จะออกพันธบัตรฉบับใหม่ที่มีอัตราผลตอบแทนต่ำกว่า 4 เปอร์เซ็นต์ได้ เพราะที่ผ่านมาเรื่องผลตอบแทนพันธบัตรเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการเจรจา ซึ่งรมว. ของกรีซก็ออกมาให้ความมั่นใจว่าสัปดาห์หน้าเรื่องการswap หนี้จะแล้วเสร็จได้ทัน
                Comment: ส่วนตัวคิดว่าเรื่องหนี้กรีซก็เป็นไปตามที่ทางทีมคาดการณ์แล้วว่า น่าจะแล้วเสร็จทันเส้นตายได้ โดยจะใช้วิธีการผลักหนี้ออกไปเรื่อยๆ แต่ที่น่าสังเกตคือ Credit rating ของประเทศกรีซนั้นจัดอยู่ในระดับ Junk Bond แต่การที่ขอดอกเบี้ยอยู่ที่ Rate 4% (เป็นอย่างมาก) นั้นก็ต้องมีประเทศอื่นใช้เรื่องกรีซเป็นต้นแบบในการเรื่องร้องขอประนอมหนี้ เช่น โปรตุเกส สเปน และอิตาลี เป็นต้น

5. Italy, Spain among EU Nations Downgraded by Fitch
            Fitch Ratings on Friday downgraded the sovereign credit ratings of Italy and Spain as well as Belgium, Cyprus, Slovenia, indicating there is a 1-in-2 chance of further downgrades in the next two years. In its statement,
            Fitch said these countries have near-term vulnerability to monetary and financial shocks.
            "Consequently, these sovereigns do not, in Fitch's view, accrue the full benefits of the euro's reserve currency status," Fitch said.



Fitch cut
Italy's rating to A- from A+
Spain to A from AA-
Belgium to AA from AA+
Slovenia to A from AA-
Cyprus to BBB- from BBB, leaving just one notch above junk status.
Ireland's rating of BBB+ was affirmed. (Maintain)

All of the ratings were given negative outlooks.

"Overall, today's rating actions balance the marked deterioration in the economic outlook with both the substantive policy initiatives at the national level to address macro-financial and fiscal imbalances, and the initial success of the ECB's three-year Long-Term Refinancing Operation in easing near-term sovereign and bank funding pressures," Fitch said.
Fitch's announcement follows a downgrade earlier this month by Standard & Poor's of nine euro zone countries, including Spain and Italy.

6. มุมมองของนายธนาคารจากธนาคารกลางตอบคำถามว่า ตอนนี้ Euro ยังน่าจะไปรอดได้
                คนที่ออกมากล่าวคือ Philipp Hildebrand ประธานธนาคารสวิสฯ ซึ่งจากการสำรวจธนาคารกลางต่างๆ จากสวิสฯ กลุ่มยูโรโซน อเมริกาเหนือและละตินอเมริกา ได้ว่า 21% ของผลสำรวจเชื่อว่าการใช้สกุลเงินเดียวกันของ 17 ชาติของยุโรปจะล้มใน 5 ปี แต่ก็มีถึง 35% ที่เชื่อว่าสกุลเงินยูโรจะยังคงใช้อยู่


วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

แนะนำ Page ใหม่ Wealth Plus II


Wealth Plus หมายถึงแผนกที่จะทำการบริหารสินทรัพย์ของลูกค้าโดยการให้คำแนะนำ หาแนวทาง ในสินทรัพย์ต่างๆให้กับลูกค้าภายใต้ผลตอบแทน และความเสี่ยงที่ลูกค้าสามารถยอมรับได้

http://www.facebook.com/pages/Wealth-Plus-II/137135313069526?ref=tn_tnmn
Asset Allocation มีจริงบนโลกใบนี้ด้วยเหรอ?

ไม่แน่ใจว่าหลายคนเคยสงสัย เหมือนผมมั้ยครับ? ทำไม? บริษัทหลักทรัพย์ถึงขายแต่สินทรัพย์เสี่ยงๆ เช่น หุ้น อนุพันธ์ จะไปซื้อกองทุน หาเงินฝากประจำ (สินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำลงมา) ต้องไปธนาคาร จะไปซื้อพันธบัตรบางทีก็ต้องวิ่งไปธนาคารแห่งประเทศไทย จะซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศต้องไปซื้อที่ไหนเนี่ย? แล้วถ้าผมจะซื้อทองต้องไปเยาวราชมั้ย?

                ถ้าอยากให้สินทรัพย์ทั้งหมดที่ลงทุนสามารถแสดงออกมาได้ด้วย Report จากที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียวล่ะ ดีมั้ย? Return คุณแสดงออกมาให้เห็นเลยว่าสินทรัพย์ที่คุณอุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาเป็นระยะเวลานานจะได้ Return เท่าไหร่ในแต่ละปี และเมื่อเทียบกับ Benchmark ต่างๆ แล้วจะเป็นอย่างไร

                ผมเชื่อว่านักลงทุนหลายท่านเป็นเหมือนผมนะครับ คือเรียนรู้จากตำรามหาวิทยาลัยว่า การลงทุนต้องกระจายความเสี่ยง และจัดสรรการลงทุนให้เหมาะสม แต่ คิดแล้วก็อยากถามกลับไปว่า แล้วเมืองไทยทำแบบนั้นได้เหรอ บริษัทหลักทรัพย์ไหนบ้างล่ะจะมีฝากประจำ จะไปซื้อกองทุนก็ต้องหา บลจ ดีๆ ซักแห่งหนึ่ง ผมชอบกองทุนของบลจ นี้นะ แต่ผลตอบแทนที่ได้เมื่อเทียบกับ บลจ อื่นแล้วเหมาะสมหรือไม่ (เราได้มากกว่าหรือน้อยกว่าล่ะ?) ผมเชื่อนะว่าการลงทุนหลายๆท่าน ไม่ได้ติดอยู่ที่ Brand แต่เห็นว่าบลจ นี้โฆษณาทางโทรทัศน์บ่อยแฮะ โบรกแห่งนี้ตั้งมานานมีความน่าเชื่อถือ เพราะ การจะทำการกระจายความเสี่ยงและจัดสรรการลงทุนให้เหมาะสมนั้น
1. คุณต้องมีเวลา
2. คุณต้องมีความอุตสาหะ ใช้เวลาศึกษาเป็นเวลานาน
                แล้วถ้ามีตัวช่วยเหล่านี้ให้คุณล่ะครับ คุณจะรู้สึกอย่างไร? เพียงแค่คุณโทรหาเรา (ไม่ใช่แหละ) เพียงแค่คุณติดตามเราใน Page นี้ก่อนก็พอครับ แล้วค่อยตัดสินใจดูว่า มันน่าสนใจมากน้อยเพียงใด

                ปล. ส่วนตัวนะครับ ส่วนตัวจริงๆ Page นี้ผมจะไม่ได้ทำแค่คนเดียวเหมือนกับใน Broker’s  View Point  แต่จะมีผู้ที่เป็นมืออาชีพจริงๆเช่น Marketing ที่อยู่ในวงการมาร่วม 20 ปี กลุ่มมหาบัณฑิตจากมหาลัยในสหรัฐ อังกฤษ รวมถึงสถาบันชั้นนำของไทย เช่น NIDA CHULA แน่นอนครับว่าส่วนหนึ่งก็เพื่อโปรโมตทีมขึ้นมา แต่อีกส่วนหนึ่งนั้นผมก็อยากจะเผยแพร่ความรู้และแชร์มุมมองแลกเปลี่ยนกับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกท่านครับ
                ก็หวังว่า  Page “Wealth Plus II” จะได้รับการตอบสนองอย่างอบอุ่นจากเพื่อนๆ พี่ๆ ทุกท่านครับ 
http://www.facebook.com/pages/Wealth-Plus-II/137135313069526?ref=tn_tnmn

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์รายสัปดาห์ 16-20 มกราคม


กลยุทธ์ลงทุนรายสัปดาห์ (วันที่ 16-20 มกราคม 55)

ความเสี่ยงยังอยู่ครบ ตลาดพร้อมปรับฐานทุกเมื่อ

ความเสี่ยงต่อการปรับฐานมาจากหนี้ยุโรป และเม็ดเงิน LTF แนะลงทุนหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด คือ กลุ่มหุ้นปันผลเด่น Big Cap: INTUCH, ADVANC, RATCH, CPALL  ส่วน Small Cap: SIRI, SC, TTW, SMIT
Top Picks SC และ RATCH


ธ.พ. กลาง- เล็ก กระทบสุดจากการเก็บค่าธรรมเนียมการออกตั๋ว B/E
นโยบายการจัดหาเงินของ BOT คาดว่าจะมี 3 ทางคือ
1) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการออกตั๋ว B/E กับ ธ.พ. เพิ่มเติมจากเดิมที่ไม่เคยเรียกเก็บ ซึ่งหากมีการเรียกเก็บในอัตรา 0.35% ก็คาดว่าจะได้เงินเข้ากองทุนราว 7 พันล้านบาท
2) ขอให้นำรายได้จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีนิติบุคคลที่ภาครัฐจะปรับลด (30% >> 23%) รวมแล้วคือ 7% คิดเป็นมูลค่ากว่า 9 พันล้านบาท
และ 3) จัดสรรค่าธรรมเนียม ที่ปัจจุบัน แบงค์ นำส่งเงินสมทบให้กับ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ในอัตรา 0.40% ในราว 87.5% ของเงินนำส่งสถาบันทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าราว 3 หมื่นล้านบาท

ซึ่งจะดีกว่าที่ทาง ASP และ ตลาดคาดการณ์ เพราะจะทำให้ต้นทุนการเงินของ ธ.พ. อยู่ที่ 0.62%ของเงินฝาก จากเดิมทิ่คิดว่าเลวร้ายสุดคือ 1% (เดินต้นทุนการเงินจะอยู่ที่ 0.4%)

จะทำให้กำไรสุทธิของธนาคารลดลงเพียง 7.61% (ถ้าธปท เรียกเก็บต้นทุนการเงินเป็น 1% จะทำให้กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ลดลง 21%) ซึ่งวิธีการแบบนี้จะกระทบกับธนาคารหลักๆที่นิยมออกตั๋ว B/E  3 แห่งคือ TCAP, LHBANK, TISCO และตามมาด้วยธนาคารขนาดกลาง-เล็ก คือ KK และ BAY จึงแนะนำให้เน้นหุ้นใหญ่ที่กระทบน้อยคือ BBL, SCB, KBANK

การประมูลพันธบัตรของ Greece, Spain กดดันเงินยูโร และหุ้นโลกผันผวน

แม้การประมูลพันธบัตรจะออกมาดี แต่ในสัปดาห์หน้าการ Refinance ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดในระยะสั้นยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง การประมูลพันธบัตรของประเทศในกลุ่ม PIIGC ยังมีอยู่อีกจำนวนมากตลอด Q1 ซึ่งพันธบัตรในกลุ่ม PIIGC จะครบกำหนดราว 1.7 แสนล้านเหรียญฯ  โดยกรีซจะเป็นปัจจัยกดดันสถานการณ์กลุ่มยุโรปโดยรวม ซึ่งน่ากดดันให้ค่าเงินยูโรยังคงผันผวนแม้จะแข็งค่าขึ้นระยะสั้นมาอยู่ที่ 1.281 เหรียญฯต่อยูโร แต่น่าจะเป็นแนวต้านสำคัญ สวนทางกับ Dollar Index ที่ทรงตัว 80 จุดและมีโอกาสฟื้นตัว เป็นสัญญาณที่ชี้ว่าตลาดหุ้นโลกยังมีโอกาสผันผวนและปรับฐานระยะสั้นได้

ต่างชาติซื้อต่อเนื่องในภูมิภาค(เอเชีย) เป็น Week 2 แต่เริ่มขายไทย และอินโดฯ

ต่างชาติมียอดซื้อสุทธิราว 781 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 31.7% โดยตลาดหุ้นไต้หวันถูกซื้อมากสุด (ไต้หวันกำลังมีการเลือกตั้งพอดี ซึ่งผลออกมาว่าประธานาธิบดีคนเดิม ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง) รองลงมาเป็นตลาดเกาหลี และเริ่มมีการขายสุทธิออกมา 83 ล้านเหรียญในตลาดหุ้นไทย

ที่มา: ศูนย์วิจัยเอเซีย พลัส