เข้าเรื่องการลงทุนบ้าง หลายคนอาจจะอยากเป็นนักลงทุนแบบ VI (Value Investor) แต่ไม่รู้จะทำยังไง?
อ่านหนังสือของลุงเบนจามิน เกรแฮม (บิดาแห่ง VI) ก็ไม่ค่อยเข้าใจ เพราะมันเป็นแบบแนวตะวันตก จริงๆต้องบอกว่าเอเชียก็มีคนคิดการลงทุนแนวนี้เหมือนกันครับ เพียงแต่จะได้ยินกันในชื่อ กลยุทธ์ดันโด (ลักษณะก็คือ จะลงทุนในธุรกิจที่ความเสี่ยงแทบไม่มี แต่ผลตอบแทนสูง หรือที่เรียกกันว่า การทำ Arbitrage นั่นเอง)
กลยุทธ์ดันโดย่อยง่ายๆให้อ่านกันได้ก็จะมีด้วยกัน 9 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ซื้อธุรกิจที่มีอยู่แล้ว --> ถ้าในยุคสมัยนี้ก็คือตลาดหุ้นนั่นเอง
2. ซื้อธุรกิจที่เรียบง่าย --> ธุรกิจที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน คาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตได้อย่างใกล้เคียง
3. ซื้อธุรกิจที่กำลังมีปัญหา --> แหล่งข้อมูลที่จะแจ้งเรื่องนี้ได้ว่าธุรกิจไหนกำลังมีปัญหาก็คือ “หนังสือพิมพ์” แต่ ณ โลกยุคปัจจุบันนี้ ตาม Website ที่รวมข่าวต่างๆ ก็มีความน่าสนใจมากขึ้น (แต่ต้องกรองที่มาให้ดีด้วยเช่นกัน)
4. ซื้อธุรกิจที่มีความได้เปรียบ --> “ลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอันยั่งยืน” --> โดยต้องดูที่ “งบการเงิน”
* ความได้เปรียบเชิงแข่งขันแบบถาวรไม่มีจริง * เพราะจากการสำรวจวงจรชีวิตบริษัทนั่นจะอยู่ได้เพียงแค่ 40 – 50 ปี ที่มา: Fortune 500
ด้วยเหตุนี้การคำนวณกระแสเงินสดคิดลดจึงไม่ควรที่จะนานเกิน 10 ปีนั่นเอง
5. เดิมพันหนักๆ เมื่อมีแต้มต่อ --> บางครั้งราคาหุ้นที่เราเจออาจะจะไม่ถึงครึ่งของ Fair Price ดังนั้น ถ้าคำนวณมูลค่าแท้จริงสูงกว่ามูลค่าตลาดมากๆ ก็มีโอกาสที่จะทำกำไรได้แน่นอน
* การลงทุนบางคราวก็คล้ายการเดิมพัน มันเป็นเรื่องของความน่าจะเป็น มองหาโอกาสลงทุนที่มีราคาผิดพลาด และลงทุนหนักๆ เมื่อมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง จะเป็นบัตรผ่านไปสู่ความมั่งคั่งแน่นอน*
6. หาโอกาสทำ Arbitrage (หุ้นบางตัวอาจจะมีการซื้อขายมากกว่า 1 ที่ ถ้าเราสามารถทำการซื้อขาย ณ ต่างประเทศได้ เราก็มีโอกาสที่จะทำกำไรได้เช่นกัน :) :) )
7. ซื้อราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง กฎง่ายๆ ที่ทำได้ยากเสมอ ความยากของมันอยู่ที่คุณจะหามูลค่าแท้จริงได้อย่างไร ฉะนั้นทางที่ดีแล้วพยายามหาหุ้นที่ราคาตลาด ถูกกว่ามูลค่าแท้จริงที่ประเมินขึ้นมา ให้ถูกกว่ามากๆๆๆ
8. หาธุรกิจเสี่ยงต่ำ แต่ความไม่แน่นอนสูง ข้อนี้ต้องเท้าความก่อนว่าในตลาดหุ้นนั้นมีเรื่องธุรกิจและความไม่แน่นอนอยู่ 4 แบบ กล่าวคือ
1. ความเสี่ยงสูง ความไม่แน่นอนต่ำ (ยกตัวอย่างก็เช่นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับภาครัฐ ธุรกิจมีความเสี่ยงสูง แต่การประมูลงานก็มีโอกาสได้งานที่ง่ายกว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างเจ้าใหม่ๆ)
2. ความเสี่ยงสูง ความไม่แน่นอนสูง (สุดยอดของความไม่น่าลงทุนเลย คงไม่มีใครสนใจธุรกิจแบบนี้นอกจากจะเป็นนักเก็งกำไร หรือนักพนันนั่นเอง)
3. ความเสี่ยงต่ำ ความไม่แน่นอนต่ำ (ธุรกิจนี้ถ้าไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงจริงๆ เช่น Subprime ที่ผ่านมา เชื่อได้เลยว่าคนสนใจน้อยมาก เหตุเพราะถ้าวิเคราะห์ในเชิงบัญชีแล้ว ธุรกิจประเภทนี้จะมีการเทรดในค่า P/E ที่สูงมาก แปลว่าการ Trade แพงเกินไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในรอบ 4-5 ปีนี้ก็คือกลุ่มพาณิชย์เช่น CPALL นั่นเอง )
4. ความเสี่ยงต่ำ ความไม่แน่นอนสูง ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า ธุรกิจประเภทนี้ด้วยโครงสร้างของบริษัทแล้วความเสี่ยงถือว่าต่ำมาก ธุรกิจมีความมั่นคงสูง แต่ด้วยสภาพแวดล้อม หรือด้วยเรื่อง Timing ก็แล้วแต่ทำให้มีช่วงเวลาที่ราคาหุ้น ขาดการเหลียวแล เผชิญแรงเทขายออกมาตามตลาดที่ร่วงลง ตัวอย่างเช่น SCC PTT PTTGC(ก่อนควบรวมกิจการ) ใครจะเชื่อครับว่าจะสามารถซื้อ PTT SCC ที่ราคาต่ำกว่า 300 บาทได้ในช่วงที่ S&P ออกมา Downgrade US Bond แปลกแต่จริงครับ และสุดท้ายมันก็เด้งกลับขึ้นมาได้ แล้วถ้าจะไปได้อีกไกลเสียด้วย
9. เลียนแบบดีกว่าสร้างใหม่ ถ้าเทียบใกล้ๆตัวก็เรียกว่าทำตาม Model ที่น่าสนใจละกันครับ ถามว่าธุรกิจนี้ในโลกมีหรือ เลียนแบบเขาแล้วไม่โดนฟ้องเนี่ย ??
มีครับ นั่นก็คือธุรกิจ Franchise นั่นเอง ถ้าFranchise ไทยแท้ก็ขอยกตัวอย่างเช่น ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ราดหน้าเอ็มไพร์ เจ้าต่างๆ ครับที่ดูน่าสนใจทีเดียว ถ้า Import เข้ามาก็เห็นจะเป็น Krispy Kreme ช่วงกระแสโดนัทแรงๆ นี่ท้ายแถวน่าจะยาวถึงวัดปทุมวนารามได้เลยนะครับ (ขอเว่อร์นิดนึง)
สุดท้ายต้องขอบคุณบทความจากหนังสือพิมพ์ Post today ประจำวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่เป็นแหล่งที่มาสำหรับย่อหนังสือเล่มใหญ่โตมาให้พวกเราสามารถตั้งใจอ่านหนังสือเล่มนี้กันได้เพิ่มเติมครับ